แอร์บ้าน ต้องติดแบบไหนถึงจะดี?
แอร์ หรือ เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลาย ให้ได้เลือกใช้งาน ซึ่งในแต่ละแบบจะมีความต่างทางการติดตั้ง ราคา ขนาดBTU ให้ได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม แล้วอย่างไรคือความเหมาะสม วันนี้BT26 จะมาแนะนำค่ะ
แอร์ สำหรับครัวเรือนในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
1.Econo Air หรือแอร์ Fix Speed คือ เครื่องปรับอากาศที่มีการทำความเย็นแบบเต็มกำลัง จะทำความเย็นให้ได้ตามที่เราตั้งอุณหภูมิไว้ด้วยการจะตัดการทำงานเมื่อความเย็นในห้องเท่ากับที่เราตั้งไว้ และจะกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งเมื่อเซนเซอร์จับได้ว่าอุณหภูมิในห้องเริ่มสูงขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ชอบให้แอร์ที่บ้านเย็นเร็ว ๆ และห้องที่ต้องการการควบคุมอุณหภูมิ
2.Inverter คือ เครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ที่สามารถปรับระดับการทำงานได้ให้สอดคล้องกับอุณหภูมิได้ คอมเพรสเซอร์จะไม่ตัดการทำงานเหมือนกับ Fix Speed แต่จะลดระดับการทำงานเพื่อรักษาความเย็นให้เย็นแบบสม่ำเสมอ ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
ส่วนในรูปแบบการติดตั้งนั้น แอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1.แบบติดผนัง (Wall Type)
เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ใช้กับห้องขนาดเล็ก มาพร้อมกับขนาดการทำความเย็น มีตั้งแต่ 9,000 BTU 12,000 BTU 18,000 BTU และ 24,000 BTU ซึ่งมีการออกแบบทั้งสีและรูปแบบหลากหลาย
2.แบบตั้งแขวน (Ceiling type)
ราคาจะสูงกว่าแอร์ผนัง เพราะมีต้นทุนผลิตสูงกว่า และติดตั้งยากกว่า ข้อดีคือลมแรงกว่าแอร์ผนังเหมาะสำหรับห้องที่ไม่มีพื้นที่ผนัง สามารถตั้งพื้นได้สามารถกระจายความเย็นไปได้ทั่วถึงทำให้ห้องเย็นไวมากยิ่งขึ้น
3.แบบฝังฝ้าเพดาน สี่ทิศทาง ( Cassette type)
เน้นความสวยงาม โดยการซ่อน หรือฝังอยู่ ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง มีความสวยงาม ทุกอย่างควบคุมจากจุดๆ เดียว ทำให้การแก้ไข และหาสาเหตุของปัญหาต่างๆ เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถเลือกติดตั้งหน้ากากแอร์ ให้ลมออกได้หลากหลายเช่น ข้างกำแพง บนฝ้าเพดาน บนพื้น และมีหลายทิศทางให้เลือกซื้อ ทั้งแบบกลม หรือแบบเหลี่ยม
4.แอร์แบบเคลื่อนที่ ( Movable type)
ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้
5.แบบตู้ตั้งพื้น ( Package type)
มีลักษณะคล้ายตู้ มีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มีคนผ่านเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ เช่นห้องประชุม โชว์รูม ห้องอาหาร เป็นต้น
6.แบบหน้าต่าง ( Window type)
รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว โดยปัจจุบันแทบจะไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว เพราะเวลาติดตั้งต้องมีหน้าต่างที่ขนาดพอดีกับเครื่องปรับอากาศ